วิสัยทัศน์ : พันธกิจ : เป้าประสงค์ : ค่านิยมองค์กร สพป.พบ.1
วิสัยทัศน์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑ เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สร้างผู้เรียน
มีคุณภาพ มีความสุข และมีสมรรถนะที่จำเป็น สู่สังคมศตวรรษที่ ๒๑
พันธกิจ
1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณธรรม ยึดมั่นในสถาบันหลักของชาติและการปกครอง ในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ มีความสุข มีสมรรถนะและคุณลักษณะตามหลักสูตร มีทักษะในศตวรรษที่ 21
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
3. สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง
เท่าเทียม และมีคุณภาพ
4. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานตำแหน่งและมีความเป็นมืออาชีพ
5. พัฒนาสถานศึกษาให้มีความอบอุ่น ปลอดภัย และจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาตามมาตรฐานการประกันคุณภาพ ทุกระดับด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี
สารสนเทศโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้อง และเป็นพลเมืองดี ของชาติ มีคุณธรรม
จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น ซื่อสัตย์ สุจริต มัธยัสถ์
อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม
2. ผู้เรียนมีความสุข ปลอดภัย มีศักยภาพ คุณภาพ มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต และมีขีดความสามารถในการแข่งขัน
3. ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (ผู้พิการ) กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ได้รับบริการทางการศึกษา
อย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ
4. ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้ คุณภาพตามมาตรฐานตำแหน่ง
และมีจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
5. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร
กับสิ่งแวดล้อมโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ
6. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ ตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้
ข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล ในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาอย่างมีส่วนร่วม
ค่านิยมองค์กร
“มีวินัย ใส่ใจบริการ ประสานสามัคคี”
มีวินัย : วินัยต่อตนเอง – ความรับผิดชอบในหน้าที่ตามขอบข่ายงานที่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานตำแหน่ง ปฏิบัติงาน
ในหน้าที่อย่างมีขั้นตอน ถูกต้อง ครบถ้วนทันตามกรอบเวลาอย่างมีประสิทธิภาพในการ
ปฏิบัติงาน มีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา ปฏิบัติตนตามระเบียบ วินัยข้าราชการ
วินัยต่อเพื่อนร่วมงาน - ความสุภาพเรียบร้อย ไม่กลั่นแกล้ง ไม่เอาเปรียบ เคารพสิทธิของผู้อื่นให้ความ
ร่วมมือในการปฏิบัติงานภายในกลุ่มงาน และภายในองค์กร
วินัยต่อองค์กร - การปกป้องรักษา ชื่อเสียงขององค์กร ยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง สร้างความ
สง่างามให้องค์กรในทุกๆด้าน
ใส่ใจบริการ : มีจิตบริการการให้ความช่วยเหลือผู้ที่มาติดต่อราชการ หรือผู้อื่นทุกครั้งที่มีโอกาสด้วยความเต็มใจ
อย่างเป็นกัลยาณมิตรไม่เลือกปฏิบัติ ริเริ่มกิจกรรม ที่เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ปฏิบัติตนเป็น
ต้นแบบในการให้บริการ
ประสานสามัคคี : ให้ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในกิจการงานส่วนรวม ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งส่วนตัวและ
ส่วนรวมสู่การเป็นองค์กรคุณภาพ
จุดเน้นและแนวทางการพัฒนาการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑
จุดเน้นที่ 1 น้อมนำพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ (Inducement The Royal Educational Policy)
จุดเน้นที่ 2 พัฒนาหลักสูตร เพิ่มผลสัมฤทธิ์ (Curriculum Development & Raise the Effectiveness of
students’ learning)
จุดเน้นที่ 3 คิดคำนวณ อ่าน เขียน (Arithmetic Reading & Writing Development)
จุดเน้นที่ 4 โรงเรียนมีคุณภาพ ปลอดภัย น่าอยู่ (Quality Standards – Safety and Compatible Schools)
จุดเน้นที่ 5 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพ มีคุณธรรม (Teachers and Educational Staff are
Qualified and Ethical)
จุดเน้นที่ 6 สร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และการวิจัย (Foster Innovation Technology and Research)
จุดเน้นที่ 7 นิเทศภายใน และสร้างเครือข่ายทางการศึกษา (Internal Supervision and Educational
networks)
จุดเน้นที่ 8 พัฒนาระบบประกันคุณภาพ (Guarantee Quality Assurance)
จุดเน้นที่ 9 ขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่การมีจรณทักษะ (Learners’ Development Activities and
Soft skills)
ขอบข่ายและตัวชี้วัดในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
๙ จุดเน้น ๖๑ ตัวชี้วัด ดังนี้
จุดเน้น สพป.เพชรบุรี 1 |
วิเคราะห์ความเชื่อมโดย/สอดคล้อง |
||||||
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ |
Quick Win |
10 จุดเน้น สพฐ. |
กลยุทธ์ |
|
|||
จุดเน้นที่ 1 น้อมนำพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ |
1 |
1 |
1 |
ประสิทธิภาพ |
|
||
จุดเน้นที่ 2 พัฒนาหลักสูตร เพิ่มผลสัมฤทธิ์ |
ü |
2,3 |
2 |
(1:3) |
2,3,6,7 |
คุณภาพ |
|
จุดเน้นที่ 3 คิดคำนวณ อ่าน เขียน |
ü |
2,3 |
2 |
(1:3) |
4,7 |
คุณภาพ |
|
จุดเน้นที่ 4 โรงเรียนมีคุณภาพ ปลอดภัย น่าอยู่ |
ü |
5 |
2,5 |
(1:3,4),(2:2.4) |
8,9 |
ปลอดภัย/โอกาส |
|
จุดเน้นที่ 5 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพ มีคุณธรรม |
ü |
1 |
3 |
(1:1,5) |
1,10 |
ประสิทธิภาพ |
|
จุดเน้นที่ 6 สร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และการวิจัย |
ü |
4 |
4,6 |
(1:6) ,(2:1) |
10 |
คุณภาพ/ประสิทธิภาพ |
|
จุดเน้นที่ 7 นิเทศภายในสถานศึกษา และสร้างเครือข่ายทางการศึกษา |
ü |
4 |
4 |
(2:2) |
10 |
คุณภาพ/ประสิทธิภาพ |
|
จุดเน้นที่ 8 พัฒนาระบบประกันคุณภาพ |
ü |
6 |
5 |
(1:3,4) |
10 |
ประสิทธิภาพ |
|
จุดเน้นที่ 9 ขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สู่การมีจรณทักษะ |
ü |
2 |
2 |
(2:2,5) |
5 |
คุณภาพ |
|
1: ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา / 2: ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
จุดเน้นและแนวทางการพัฒนาการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑
จุดเน้นที่ 1 น้อมนำพระบรมราโชบายสู่การปฏิบัติ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต ๑ ส่งเสริมให้ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษาปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติและน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ความรักชาติ คือความรัก ความสำนึก และความภาคภูมิใจในความเป็นชาติของตนเอง คนไทยทุกคนต้องมีความรักและหวงแหนแผ่นดินไทย นิยมไทย สำนึกและภูมิใจในความเป็นไทย และมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งการรักษาผลประโยชน์และเกียรติภูมิของชาติไทยรวมทั้งน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
(๑) ร้อยละ ๑๐๐ ของข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และผู้เรียนได้รับปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติสู่การปฏิบัติ
(๒) ร้อยละ ๙๐ ของสถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอน โครงการ กิจกรรมหรือการดำเนินงานในรูปแบบอื่นลงสู่ตัวผู้เรียน
(๓) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาขับเคลื่อนพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10
สู่การปฏิบัติ ผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมอื่นตามความพร้อมและบริบทของสถานศึกษา
(๔) ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติและน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ความรักชาติ คือความรัก ความสำนึก และความภาคภูมิใจในความเป็นชาติของตนเอง
จุดเน้นที่ 2 พัฒนาหลักสูตร เพิ่มผลสัมฤทธิ์
ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยครอบคลุม หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัวและหลักสูตรพิเศษอื่นตามกลุ่มผู้เรียนหรือผู้เรียนที่มีความจำเป็นต้องการพิเศษ ให้มีความเป็นปัจจุบัน ทันสมัย จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ พัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษา ด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี ด้านนาฎศิลป์ และด้านกีฬา ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญารวมทั้งส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เร่งส่งเสริมให้สถานศึกษามีการปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) ที่ทันสมัยและหลากหลาย
มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติให้สูงขึ้น ส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และส่งเสริมให้มีระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) และมีการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
(๑) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดที่เปิดทำการสอนระดับปฐมวัย มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยที่ถูกต้อง ทันสมัย นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ได้จริงพร้อมทั้งมีการประเมินพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม
(๒) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ปรับปรุงปีพุทธศักราช ๒๕๖๐) ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และมีระเบียบการวัดผลและประเมินผลระดับสถานศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน
(๓) สถานศึกษาที่มีการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ในท้องถิ่น มีการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษตามกลุ่มผู้เรียนหรือผู้เรียนที่มีความจำเป็นต้องการพิเศษ และการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
มีหลักสูตรเฉพาะในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมในแต่ละประเภท เช่น หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ หลักสูตรจัดการศึกษาโดยครอบครัว เป็นต้น
(๔) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาขยายโอกาสในสังกัด มีแนวทางในการดำเนินการระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) ตามความต้องการหรือความจำเป็นที่เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา
(๕) สถานศึกษาในสังกัดที่มีความพร้อมสามารถจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ พัฒนานักเรียน
ผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษา ด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี ด้านนาฎศิลป์ และด้านกีฬา ได้ตามความเหมาะสมและตามบริบทของโรงเรียน
(๖) ร้อยละ ๘๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามพหุปัญญารวมทั้งส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(๗) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตยในสังคมร่วมสมัยเพื่อคุณภาพผู้เรียน
(๘) ร้อยละ ๙๐ ของสถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลายมีการต่อยอดแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา
(๙) ร้อยละ ๙๐ ของสถานศึกษามีกระบวนการเรียนการสอน/โครงการ/กิจกรรม/ที่มุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติให้สูงขึ้น โดยพิจารณาจากร้อยละของผู้เรียนที่มีผลการเรียนระดับดีขึ้นไป และร้อยละของสถานศึกษาที่มีผลการทดสอบระดับชาติสูงกว่าระดับประเทศหรือสูงกว่าปีที่ผ่านมา
(๑๐) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาองค์ความรู้สร้างเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ มีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
(๑๑) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีแผนหรือโครงการในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียน
ขยายโอกาส ในรูปของส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสและดำเนินการตามแผนหรือโครงการ
(๑๒) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการสนับสนุนการปรับเกณฑ์อัตรากำลังผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรสายสนับสนุนให้กับโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งจัดทำรูปแบบการบริหารเจ้าที่ธุรการในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดเพื่อให้มีครูที่เพียงพอและผู้เรียนได้รับการศึกษาครบตามหลักสูตรที่กำหนด
(๑๓) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 60 คน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ได้รับ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์สำหรับการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV
(๑๔) ร้อยละ ๘๐ ของผู้เรียนมีคุณภาพตามหลักสูตรที่สถานศึกษากำหนดทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับดีขึ้นไป
(๑๕) ร้อยละ ๗๐ ของผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับดีขึ้นไป และมีผลการทดสอบระดับชาติ เฉลี่ยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสูงกว่าระดับประเทศ
จุดเน้นที่ 3 คิดคำนวณ อ่าน เขียน
ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดพัฒนาผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านออก เขียนได้ อ่านคล่อง เขียนคล่อง และการอ่านขั้นสูงตามแนวทางการประเมิน PISA เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริม/พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการคิดในระดับต่าง ๆ และทักษะการคิดคำนวณที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
(๑) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษามีการพัฒนาผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านออก เขียนได้
อ่านคล่อง เขียนคล่อง ในระดับชั้นประถมศึกษาและการอ่านขั้นสูงตามแนวทางการประเมิน PISA ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รวมทั้งมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เหมาะสมตามช่วงวัยในแต่ละระดับชั้น
(๒) ผู้เรียนร้อยละ ๘๐ มีผลการคัดกรองการอ่าน เขียน โดยใช้เครื่องมือมาตรฐาน ในระดับดีขึ้นไป
(๓) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษามีการส่งเสริม พัฒนาทักษะกระบวนการคิด และการคิดคำนวณให้กับผู้เรียนที่เหมาะสมตามช่วงวัยในแต่ละระดับชั้น
(๔) ใช้ผลการประเมิน ข้อ ๒.๓ (๑) [ Quick Win ด้านที่ ๑ ข้อที่ ๓ ]
จุดเน้นที่ 4 โรงเรียนมีคุณภาพ ปลอดภัย น่าอยู่
ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา ตรวจสอบ ประเมิน และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของสถานศึกษา เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย อบอุ่น มีความสุข เอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนาเครือข่าย ระบบ และกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครูและบุคลการทางการศึกษา และสถานศึกษา ป้องกันผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ดูแลความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยระบบ OBEC Safety Center มีการพัฒนาระบบการป้องกัน การเฝ้าระวัง และการดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน และเด็กพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารตามความต้องการจำเป็นรายบุคคล เพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา โดยบูรณาการความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการฝึกอาชีพ
ที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพ เพื่อให้มีทักษะ ในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้ โรงเรียนขนาดเล็ก
มีมาตรฐานในการจัดการศึกษาตามเกณฑ์ ดำเนินการเพื่อลดภาระการประเมินของสถานศึกษาโดยบูรณาการกับการปฏิบัติงานประจำที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจน ขับเคลื่อนการดำเนินงาน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ มีการจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ กำหนดมาตรฐานโรงเรียนคุณภาพและพัฒนาโรงเรียนคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
(๑) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของสถานศึกษาทางกายภาพของสถานศึกษาเพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย อบอุ่น มีความสุข เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการนำระบบ OBEC Safety Center มาใช้ในการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ดูแลความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา
(๒) ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
(๓) ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เรียน ได้รับความปลอดภัยในสถานศึกษา ได้รับการดูแลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
(๔) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคัน และเด็กพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดาร(ในบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา) ตามความต้องการจำเป็นรายบุคคล เพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา ด้วยความร่วมมือกับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๕) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาส ได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการฝึกอาชีพ ที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพเพื่อให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้
(๖) ร้อยละ ๘๐ ของโรงเรียนขนาดเล็กมีการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานในการจัดการศึกษาตามเกณฑ์
(๗) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการขับเคลื่อนการดำเนินงาน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ
มีการจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ กำหนดมาตรฐานโรงเรียนคุณภาพ และพัฒนาโรงเรียนคุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยร้อยละ ๑๐๐ ของโรงเรียนคุณภาพผ่านการประเมินร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
จุดเน้นที่ 5 ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพ มีคุณธรรม
ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาให้มีความเป็นผู้นำสามารถนำนโยบายสู่การปฏิบัติ และมีทักษะในการบริหารสถานการณ์ต่างๆ พัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ในการนิเทศ และการชี้แนะ (Coaching) พัฒนาสมรรถนะครู ด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ จิตวิญญาณความเป็นครู มีความรู้และสมรรถนะด้านวิชาการ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
และทักษะอื่นที่จำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการ การแต่งตั้ง การย้าย การช่วยราชการ และการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ สรรหา บรรจุและแต่งตั้ง โยกย้าย ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือระบบคุณธรรมและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ อาหารกลางวัน อย่างมีคุณภาพและถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีการจัดเก็บข้อมูล สารสนเทศข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีกระบวนการแก้ไข้ปัญหาหนี้สินครู จัดตั้งสถานีแก้หนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ จัดทำข้อมูลสารสนเทศหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาและจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และดำเนินการตามแนวทางฯ ตามสภาพทางการเงิน สร้างความตระหนักในการป้องกันการทุจริต เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
(๑) ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีความเป็นผู้นำสามารถนำนโยบายสู่การปฏิบัติ และมีทักษะในการบริหารสถานการณ์ต่างๆอย่างน้อย ๑ หลักสูตร
(๒) ร้อยละ ๑๐๐ ของศึกษานิเทศก์ ได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา และการชี้แนะ (Coaching)
(๓) ร้อยละ ๙๐ ของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะ ด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ จิตวิญญาณความเป็นครู ความรู้และสมรรถนะด้านวิชาการ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และทักษะอื่นที่จำเป็น อย่างน้อย ๑ หลักสูตร
(๔) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการบริหารงานบุคคลระดับเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการ การแต่งตั้ง การย้าย การช่วยราชการ และการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ สรรหา บรรจุและแต่งตั้ง โยกย้าย ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือระบบคุณธรรมและความโปร่งใส ไม่พบข้อร้องเรียนใดๆ
(๕) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดมีความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ อาหารกลางวัน อย่างมีคุณภาพและถูกต้องตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่พบข้อร้องเรียนใดๆ
(๖) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู จัดตั้งสถานีแก้หนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ จัดทำข้อมูลสารสนเทศหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาและจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และดำเนินการตามแนวทางฯ ตามสภาพทางการเงิน
(๗) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการสร้างความตระหนักในการป้องกันการทุจริต เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จุดเน้นที่ 6 สร้างนวัตกรรม เทคโนโลยี และการวิจัย
ส่งเสริมให้ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและในสถานศึกษามีการพัฒนานวัตกรรมในการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอน
และการนิเทศการศึกษา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานหรือพัฒนากระบวนการทำงาน การทำผลงานในระดับต่างๆ ใช้กระบวนการวิจัยในการปฏิบัติงาน และรายงานผลการปฏิบัติงานในการดำเนินงานต่างๆ นำผลการวิจัยไปใช้เป็นฐานในการพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา เช่น ภาวะผู้นำ การนิเทศ และการชี้แนะ (Coaching) สมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้ เป็นต้น ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) จัดหาเครื่องมือ พร้อมอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการเรียนรู้ มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วของสถานศึกษา พัฒนา ส่งเสริม และขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ เทคโนโลยีดิจิทัล ให้แก่ผู้เรียนทุกที่ทุกเวลา การสื่อสาร และประชาสัมพันธ์องค์กร พัฒนาการสื่อสารทุกช่องทางติดตามและวิเคราะห์ประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของหน่วยงาน สร้างเครือข่าย และประยุกต์ใช้ AI เพื่อการประชาสัมพันธ์
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
(๑) ร้อยละ ๗๐ ของผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการพัฒนานวัตกรรมในการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอน
(๒) ร้อยละ ๙๐ ของครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดมีการจัดทำวิจัย
ในชั้นเรียนเพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
(๓) ร้อยละ ๙๐ ของผู้เรียนได้รับการส่งเสริมด้านการใช้เทคโนโลยี และการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา
(๔) ร้อยละ ๙๐ ของผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ มีการวิจัยหรือใช้กระบวนการวิจัยเพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานในหน้าที่
(๕) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดได้รับการสนับสนุนเครื่องมือ พร้อมอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการเรียนรู้ มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วของสถานศึกษา และขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ เทคโนโลยีดิจิทัล ให้แก่ผู้เรียนทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
(๖) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีการผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กร เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของหน่วยงาน สร้างเครือข่าย และประยุกต์ใช้ AI เพื่อการประชาสัมพันธ์
จุดเน้นที่ 7 นิเทศภายในสถานศึกษา และสร้างเครือข่ายทางการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีกระบวนการในการพัฒนา ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ให้เป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้านการนิเทศ และการชี้แนะ (Coaching) ให้สอดคล้องตามสมรรถนะของวิชาชีพตามข้อตกลงในการพัฒนา (PA) มีการนิเทศภายในหรือนิเทศติดตามเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาติดตามผลการนำผลพัฒนาสมรรถนะตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เช่นพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จิตวิญญาณความเป็นครู และทักษะอื่นที่จำเป็น สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนว การชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียนพัฒนาระบบการแนะแนวและการชี้แนะ (Coaching) สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องพัฒนาครูทุกคนให้เป็นครูแนะแนวส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียนด้วยระบบ School Health Hero มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนคุณภาพการจัดการศึกษาครอบคลุมทุกด้านทั้งระดับสถานศึกษาและระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
(๑) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีกระบวนการในการพัฒนา ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์
ให้เป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ด้านการนิเทศ และการชี้แนะ (Coaching) ให้สอดคล้องตามสมรรถนะของวิชาชีพตามข้อตกลงในการพัฒนา (PA)
(๒) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ
การจัดการเรียนการสอน การติดตามผลการนำผลพัฒนาสมรรถนะตนเองของครูและบุคลากรทางการศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน และนำผลจากการนิเทศภายในสถานศึกษาไปพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ
(๓) ร้อยละ ๙๐ ของครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะและกระบวนการในการสร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนว การชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียน พัฒนาระบบการแนะแนวและการชี้แนะ (Coaching) เพื่อให้ครูทุกคนให้เป็นครูแนะแนวตลอดจนสามารถส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียนด้วยระบบ School Health Hero
(๔) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีการสร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนว การชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียนพัฒนาระบบการแนะแนวและการชี้แนะ (Coaching)
(๕) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษามีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนคุณภาพการจัดการศึกษา อย่างน้อย ๑ เครือข่าย
(๖) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนคุณภาพการจัดการศึกษา อย่างน้อย ๓ เครือข่าย
จุดเน้นที่ 8 พัฒนาระบบประกันคุณภาพ
ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาในสังกัดนำระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไปใช้ในการบริหารจัดการศึกษา พัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในสถานศึกษาทุกขนาด ผู้บริหารสถานศึกษามีความเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ นำนโยบายสู่การปฏิบัติ และมีทักษะในการบริหาร ส่งเสริม ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และสมรรถนะด้านวิชาการ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร และจัดทำรูปแบบและแนวทางการประเมินเพื่อลดภาระของสถานศึกษา
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
(๑) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดนำระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในการบริหารจัดการศึกษา
(๒) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดได้รับการพัฒนาให้มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในสถานศึกษาทุกแห่ง
(๓) ร้อยละ ๘๐ ของสถานศึกษามีผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาในระดับดีขึ้นไป
(๔) ผู้เรียน ครูและผู้บริหารสถานศึกษามีผลการประเมินบรรลุตามค่าเป้าหมายตามที่สถานศึกษากำหนด
(๕) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดส่งรายงานประเมินตนเองใน 1 รอบ ปี (SAR) ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๖) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและมีการขับเคลื่อนตามนโยบายลดภาระการประเมินของสถานศึกษาโดยบูรณาการกับการปฏิบัติงานประจำที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
จุดเน้นที่ 9 ขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สู่การมีจรณทักษะ
ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม การมีจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ สร้างผู้นำด้วยกระบวนการลูกเสือ เนตรนารี
ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอื่นๆ ส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน ชุมนุม ชมรม และการมีส่วนร่วม ให้เกิดวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นพลเมืองที่ดีและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนว การชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียน พัฒนานักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานหารายได้ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนพัฒนาต่อยอดห้องแล็ปสอนอาชีพ ในโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน มีการเสริมสร้าง ส่งเสริมหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีจรณทักษะ
(Soft Skills) ในการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ ความคิด และการใช้ชีวิตกับคนอื่น โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสติปัญญาในแต่ละด้าน
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
(๑) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษาในสังกัดดำเนินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนส่งเสริมให้ผู้เรียน
มีคุณลักษณะด้านการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม การมีจิตอาสา ทำความดีด้วยหัวใจ สร้างผู้นำด้วยกระบวนการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอื่นๆ
(๒) ร้อยละ ๙๐ ของสถานศึกษาในสังกัดส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน ชุมนุม ชมรม และการมีส่วนร่วม ให้เกิดวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นพลเมืองที่ดีและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
(๓) ร้อยละ ๙๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีระบบแนะแนว การชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียน
(๔) ร้อยละ ๘๐ ของสถานศึกษาในสังกัดมีการพัฒนานักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานหารายได้ระหว่างเรียนหรือในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนพัฒนาต่อยอดห้องแล็ปสอนอาชีพในโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน
(๕) ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษามีการเสริมสร้าง ส่งเสริมหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีจรณทักษะ
(Soft Skills) ในการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ ความคิด และการใช้ชีวิตกับคนอื่น โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสติปัญญาในแต่ละด้าน
(๖) ร้อยละ ๙๐ ของผู้เรียนมีจรณทักษะ(Soft Skills) มีทักษะทางด้านอารมณ์ ความคิด และการใช้ชีวิตกับคนอื่น โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสติปัญญาในแต่ละด้าน อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย
นิยามศัพท์
จรณทักษะ(Soft Skills)
การพัฒนาและมุ่งเน้นไปที่ทักษะ Soft Skill สำหรับเด็กเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกที่มีการ
แข่งขันสูง จึงจำเป็นต้องให้เด็กเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ ความคิด และการใช้ชีวิตกับคนอื่น โดยเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสติปัญญาในแต่ละด้าน ดังนี้
1. ด้านความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient - EQ)
2. ด้านความฉลาดในการแก้ไขปัญหา (Adversity Quotient -AQ)
3. ด้านความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity Quotient - CQ)
4. ด้านความฉลาดทางสังคม (Social Quotient - SQ)